top of page
  • รูปภาพนักเขียนFeminista

Feminista Bridge: การตีตราเรื่องขนบนร่างกาย ทำไมมันถึงได้เป็นเรื่องใหญ่นักนะ?





“เธอเดินข้ามถนนในชุดเสื้อแขนกุดและไม่ได้โกนขนรักแร้ โอ้ พระเจ้า ใครกันที่จะปล่อยให้ขนงอกและสกปรกแบบนั้นได้ น่ารังเกียจอะไรเช่นนี้ นานแค่ไหนแล้วที่เธอแว็กซ์มันออก สาวน้อย”


ค่านิยมเรื่องความงามในสังคมช่างโหดร้าย สื่อทำให้ค่านิยมเหล่านี้ถาวรและขยายไปเรื่อยๆ มันเป็นค่านิยมที่ทำร้ายผู้หญิง การตีตราเกี่ยวกับขนตามร่างกายนั้นเป็นหนึ่งในมาตรฐานความงามที่ทำให้ผู้หญิงเสียประโยชน์เป็นอย่างมาก ซึ่งพวกเธอถูกคาดหวังให้ต้องปราศจากขนบนร่างกายตลอดเวลา


ใครกันที่ต้องการสิ่งสกปรกพวกนี้เหนือเนื้อตัวร่างกายของเขา?


ความคาดหวังนี้นำไปสู่การทำให้อับอายและการควบคุมขนบนร่างกายของผู้หญิงเป็นอย่างมาก ผู้คนรังเกียจการมองเห็นขนบนร่างกายผู้หญิง ซึ่งมันส่งผลต่อความรู้สึกของผู้หญิงที่ไม่สะดวกใจในการสวมใส่เสื้อแขนกุดถ้าพวกเขามีขนที่แขนหรือใต้วงแขน ผู้หญิงหยุดการถูกทำให้อับอายเพราะพวกเธอมีขนตามร่างกาย โดยหันไปการทำแวกซ์ขนทั้งตัวและยอมเจ็บในรูปแบบต่างๆ เพื่อขจัดขนของพวกเธอ เมื่อมีขนตามใบหน้า มันจะต้องถูกกำจัดออกไป! จากนั้นเหนือริมฝีปาก ไปจนถึงขนคิ้ว ขนเคราข้างใบหูไปจนถึงแก้ม จมูก และหน้าผาก


-คนทั่วไปรู้สึกรังเกียจเมื่อมองเห็นขนบนร่างกายของผู้หญิง-


อย่างไรก็ตาม ผู้ชายกลับเป็นอิสระจากการถูกควบคุมเรื่องขน ขนตามร่างกายหรือขนที่ใบหน้าของผู้ชายได้รับการยอมรับให้มีอยู่ทั้งสองที่ สิ่งนี้สนับสนุนว่า ขนบนร่างกายผู้หญิงนั้นเป็นพื้นที่ในการควบคุมทางสังคม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องขนาดของร่างกาย ความยาวของผม หรือ การสวมใส่เสื้อผ้า


การเชื่อมโยงขนเข้ากับความเสื่อมเสีย ทำให้ผู้หญิงต้องทำแว็กซ์ โกน ถอน เล็ม ตัด ซึ่งบางอย่างเป็นกระบวนการที่เจ็บปวด โฆษณาเกี่ยวกับครีมการกำจัดขนมีลักษณะที่เหยียดเพศ เช่น ครีมกำจัดยี่ห้อ veet ที่กล่าวถึงผู้หญิงที่ไม่โกนขนว่าเป็นเหมือนเพื่อนชาย หรือโฆษณาตัวอื่นๆที่แสดงถึงการกำจัดขนที่ปราศจากกระบวนการที่เจ็บปวด ทั้งๆที่เราต่างรู้ว่ามันไม่ได้เป็นเช่นนั้น


โฆษณาเหล่านั้นมีเป้าหมายในการทำเงินจากการทำให้คนรู้สึกไม่สะดวกใจเกี่ยวกับขนบนร่างกาย และเพื่อแสวงหาประโยชน์จากความเปราะบางของพวกเขา โฆษณาเหล่านั้นมักแสดงภาพผู้หญิงที่มีความสุขและรู้สึกถึงความสมบูรณ์หลังจากการกำจัดขนออกไป ผู้หญิงถูกมองว่ามีความดึงดูดทางเพศมากกว่าหากพวกเธอกำจัดขนเหล่านั้นออกไป มันจะทำให้ผู้ชายรู้สึกเสน่หาและมีความสุขกับผิวที่ปราศจากขนของพวกเธอ โฆษณาครีมกำจัดขนต่างๆมักโชว์ให้เห็นการกำจัดขนของผู้หญิงจากผิวของพวกเธอซึ่งไร้ขนอยู่ก่อนแล้ว ขนของร่างกายผู้หญิงเป็นอะไรที่ต้องห้ามแม้กระทั่งภาพของขนก่อนที่จะถูกกำจัดออกไป!


มีคนที่กำลังต่อต้านและท้าทายค่านิยมเรื่องการกำจัดขนนี้ คนๆนั้นคือ Harnaam Kaur ผู้ซึ่งเลิกต่อสู้กับขนเคราของเธอซึ่งมีที่มาจากโรค Polycystic Ovary Syndrome และตอนนี้เธอหันมาใช้สื่อและอุตสาหกรรมแฟชั่นในการเปลี่ยนแปลงการรับรู้เกี่ยวกับขนบนร่างกาย นักรณรงค์เรื่องแนวคิดเชิงบวกของร่างกาย นางแบบ และคนดังบนอินสตาแกรมรายนี้ ยังได้กล่าวถึงความพยายามในการกดดันโดยชุมชนชาวเอเชียที่มักจะเรียกร้องให้เธอกำจัดขนออกไป

“ฉันได้ทวีตถึงผู้หญิงคนอื่นๆเพื่อค้นหาประสบการณ์ของผู้คนที่เกี่ยวกับการถูกทำให้อับอายเรื่องขนตามร่างกายของตัวเองและได้รับการตอบรับจำนวนมาก ซึ่งแสดงให้เห็นว่าไม่ว่าจะเป็นเพศอะไร ผู้คนล้วนมีส่วนในการทำให้อับอาย ระดับความอับอายที่ผู้คนได้รับนั้นก็มีหลากหลายระดับ ซึ่งมาจากการถูกทำให้อับอายและถูกดูหมิ่นเพราะการมีขนตามร่างกาย"


Sarita ระลึกถึงในอดีตว่า “มันมีเดทครั้งนึง ที่เพื่อนจัดให้ฉันพบกับชายคนนึงซึ่งเป็นเพื่อนของเธอ ฉันใส่เดรสสั้นระดับหัวเข่าและมีขนตามขา เขาตำหนิฉันให้เธอฟัง ฉันไม่คิดว่าฉันได้พบเขาอีกหรือเขาอยากจะเจอกับฉันอีกครั้ง”


Hinam ก็เป็นอีกคนที่ถูกทำให้อับอายจากการมีขนตามใบหน้าเช่นกัน เพื่อนผู้ชายของฉันตอนเกรด10 มองมาที่ฉันและพูดว่า “ทำไมเธอมีหนวดเคราล่ะ?” ฉันกลับบ้านและแว็กซ์ขนเหล่านั้นออกจากเหนือริมฝีปากของชั้น


หนึ่งในเหตุผลที่ผู้หญิงหลายๆคนยอมทำตามมาตรฐานความงามนี้คือความอับอายที่พวกเธอได้รับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากเพศตรงข้าม ถ้าพวกเธอเลือกที่จะไม่ทำตามมาตรฐานนี้ ความรู้สึกขยะแยง หรือการถูกรังเกียจ จะเป็นปฏิกิริยาทั่วไปที่ผู้ชายมีต่อผู้หญิงที่มีขนตามร่างกาย


พวกผู้ชายยอมรับอย่างเต็มที่หากพวกเขาจะมีขนบนร่างกายของตัวเอง อย่างไรก็ตาม สิ่งนี้จะไม่ได้รับการยอมรับ ถ้ามันเกิดขึ้นกับผู้หญิง

อย่างไรก็ตาม การทำให้อับอายเพราะเรื่องขนตามร่างกายนั้น ไม่จำกัดอยู่เฉพาะกับเพศตรงข้ามเท่านั้น อาการเกลียดผู้หญิงที่ฝังรากลึกเริ่มด้วยการที่ผู้หญิงด้วยกันเองคอยควบคุมร่างกายของคนอื่น


ในตัวอย่างนี้ Nidhi Jamwal ได้กล่าวถึงการที่ผู้หญิงคนหนึ่งโจมตีผู้หญิงคนอื่นอย่างไรเมื่อเธอเลือกที่จะไม่แว็กซ์ขน


“มิถุนายนปีที่แล้ว ฉันกำลังทานอาหารกับผู้หญิงสองคนที่เป็นนักข่าวจากเอเชียใต้ที่เราพบกันที่ประเทศเนปาล หนึ่งในนักข่าวจากประเทศเพื่อนบ้านไม่ได้แว็กซ์ขนแขนหรือขาของเธอ เธอไม่เคยรู้สึกต้องการที่จะทำแบบนั้น นักข่าวอีกคนล้อเลียนผู้หญิงคนนี้และทำให้เธอเป็นตัวตลก เรียกเธอว่า ยัยน่าเกลียด ทำให้นักข่าวที่ถูกโจมตีคนนั้นกินอาหารไม่ลงอีกต่อไป”


การตัดสินและการโจมตีคือปฏิกิริยาทั่วไปต่อคนที่ไม่กำจัดขนตามร่างกายหรือตามใบหน้า


Salma ย้อนคิดถึงประสบการณ์ในวัยเด็กของเธอที่นำเธอไปสู่การพัฒนาการขาดความมั่นใจ


“ฉันโตเป็นเด็กที่มีขนดกกับขนตามใบหน้า ฉันมีขนคิ้วดกและมีหนวดและฉันยังจำได้ว่ามีคนพูดถึงขนคิ้วของฉันมากมาย ไม่ใช่แค่สมาชิกในครอบครัว แต่กระทั่งเพื่อนของฉันด้วยในบางครั้ง”


“ฉันจำได้ว่ามีคนเรียกฉันว่ากอริลล่าเพราะฉันมีขนคิ้วดกและถูกเรียกว่าเด็กผู้ชายเพราะมีหนวด ความเห็นทั้งหมดนั้นทำให้ฉันรู้สึกแย่กับตัวเองมากๆ และจำได้ว่าฉันพยายามจะใช้กรรไกรตัดขนคิ้วของตัวเองออก มากกว่าหนึ่งครั้ง (ด้วยแนวคิดบ้าๆเพราะนั่นทำให้ชั้นดูตลกมากๆ)”


ผู้คนมักจะให้คำแนะนำโดยไม่ได้ต้องการเกี่ยวกับการขจัดขนร่างกายออกไปและบอกว่ามันน่าดึงดูดมากขึ้นอย่างไรหากพวกเขาไม่มีขนเหล่านั้นตามร่างกาย จากช่วงวัยเยาว์ เด็กผู้หญิงรู้สึกกดดันที่จะต้องปราศจากขน และคนที่ได้รับประโยชน์จากคำแนะนำที่ไม่ได้ร้องขอเหล่านี้ มีเพียงคนที่ให้คำแนะนำเหล่านั้นซึ่งเอาตัวเองเข้ามาทำหน้าที่ราวกับเป็นผู้ให้บริการสาธารณะ


ฉันจำได้ว่าถูกเรียกว่ากอริลล่า เพียงเพราะฉันมีขนคิ้วที่ดกดำและถูกเรียกว่าเป็นเด็กผู้ชายเพราะหนวดของฉัน

มันไม่ยุติธรรมเลยที่จะตรวจสอบและกดดันผู้หญิงที่นำไปสู่ความมั่นใจในตัวเองและสุขภาพจิตของพวกเธอ ทั้งหมดคือการสถาปนาอำนาจในการประกอบสร้างมาตรฐานความงาม สังคมที่แตกต่างกันให้คุณค่าที่แตกต่างกันเรื่องแนวคิดเกี่ยวกับความงาม แต่อย่างไรก็ตาม ในยุคโลกาภิวัตน์ ภาพใกล้เคียงที่เป็นสากลของความงามได้ถูกประกอบสร้างผ่านสื่อที่เต็มไปด้วยภาพความสมบูรณ์แบบของร่างกายที่ปราศจากขน ซึ่งนำไปสู่การทำให้ผู้หญิงรู้สึกอับอายเกี่ยวกับขนตามร่างกายของตัวเอง


ไม่ว่าผู้หญิงจะเลือกกำจัดขนออกไปหรือไม่ พวกเธอควรได้ตัดสินใจเลือกด้วยตัวเอง แทนที่จะให้สังคมกำหนดว่าอะไรคือสิ่งที่เหมาะสมที่พวกเธอสมควรจะทำ

*โปรดทราบว่าบางชื่อที่ถูกกล่าวถึงในบทความนี้ถูกเปลี่ยนเพื่อรักษาความเป็นส่วนตัว


แปลจาก บทความ The Stigma About Body Hair – What’s The Big Deal? https://feminisminindia.com/2017/04/12/stigma-body-hair/





ดู 687 ครั้ง0 ความคิดเห็น
bottom of page