top of page
  • รูปภาพนักเขียนFeminista

Feminista Recommended : Almaarii เรื่องเล่าจากในตู้ โลกของเราที่ไม่มีใครรู้


ในช่วงที่มีโอกาสไปศึกษาต่อที่ประเทศอินเดีย ผู้เขียนมีโอกาสได้ฝึกงานกับองค์กรหนึ่ง ซึ่งเป็นองค์กรที่ทำงานเกี่ยวกับการเสริมพลังให้กับกลุ่ม LGBTIQNA+ ที่อินเดีย ไม่ว่าจะเป็นการเผยแพร่เรื่องเล่าของคนในชุมชนหรือสร้างพื้นที่ให้คนในชุมชนได้มาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ พบปะกันในงานกิจกรรมต่างๆ และหนึ่งในผู้ร่วมงานที่ผู้เขียนได้มีโอกาสรู้จักคือ โจ ระหว่างที่ทำงานด้วยกัน เขาเล่าให้ฟังว่ากำลังทำโครงการอยู่โครงการหนึ่ง และแนะนำให้ผู้เขียนเข้าไปติดตามโครงการนี้ทางอินสตาแกรม และนั่นทำให้ผู้เขียนได้รู้จักกับโครงการที่ชื่อว่า Almaarii


My Desolated Hut


Closet, for me, is a space where I can be myself without manifesting the identity that costs me my mental peace. It is a space of calm, comfort, and desolation. My closet would be located on a quaint beach, with blue waters on the side and green grasslands on the other. My closet is a small hut with two windows overlooking both sides of the natural scenery. I have a table, a chair and a bed for myself. The bookshelves are filled with my favorite authors including Sylvia Plath, Kamala Das, and others. My table has a lamp, a vase with dead flowers, and a few notebooks where I scribble my thoughts. The room is neither too tidy nor too dirty, it's just how I would keep it without worrying about what people would think. It has clothes lying around, but in a particular space where it is supposed to. The floor is sandy. I have a gramophone, which plays Blues and Jazz all day long. And while I go to sleep at night, I watch the stars surround my closet as it will never disappear. My closet is my mental peace and everything that I associate with it.


Raqeeb, 26

Queer, Gay

Photographer/ Research Scholar

Illustrated by @akritimakesomeartsharma



รูปภาพและเนื้อหาข้างบน เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Almaarii โครงการที่เปิดพื้นที่ให้กับคนที่มีความหลากหลายทางเพศ แต่ไม่อาจเปิดเผยตัวตนในสังคมได้ และมีเรื่องที่อยากเล่าเกี่ยวกับความรู้สึกนึกคิดและสภาพแวดล้อมของตัวเองในฐานะคนที่มีความหลากหลายทางเพศที่ต้องอยู่ภายใต้การปกปิดตัวตน


คำว่า 'Almaari' หรือ الماری เป็นภาษาอูรดู แปลว่า 'ตู้' ซึ่งตรงกับคำว่า Closet หรือ Cubboard มาจากสำนวนว่า "come out from the closet" หรือการออกมาเปิดเผยตัวของคนที่มีความหลากหลายทางเพศในโลกฝั่งตะวันตก จนนำมาสู่วัฒนธรรมการ Come Out ของกลุ่ม LGBTIQN+ ทั่วโลก

แต่การเปิดเผยตัวตนของคนที่มีความหลากหลายทางเพศ ไม่ได้ราบรื่น และหลายคนพบเจอกับอุปสรรคแตกต่างกันคนจำนวนมากสามารถเปิดเผยตัวตนได้ เพราะมีครอบครัวและเพื่อนๆคอยให้การสนับสนุน บางคนมีสถานะทางสังคมและเศรษฐกิจที่เอื้อต่อการเปิดเผยตัวตน เช่น เป็นดาราคนดัง เป็นคนรวย เป็นคนมีอำนาจทางสังคม แต่คนอีกจำนวนมากพบกับอุปสรรคที่ส่งผลต่อชีวิต เช่น ถูกไล่ออกจากบ้าน ครอบครัวไม่ยอมรับ ถูกกลั่นแกล้งและเลือกปฏิบัติ จนส่งผลต่อสภาพจิตใจและร่างกาย การใช้ชีวิตในสังคม


และยังมีคนอีกกลุ่มหนึ่ง คือคนที่ไม่อาจเปิดเผยตัวตนได้ เพราะอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต ไม่ได้รับการยอมรับจากครอบครัว ชุมชน ศาสนา สังคมที่มีชีวิตอยู่ ดังนั้นพวกเขาเลือกที่จะซ่อนตัวอยู่ภายในตู้เสื้อผ้า หรือ Closet ที่ว่านั้นไปเรื่อยๆ บางคนอาจซ่อนอยู่ตลอดไป และบางคนอาจออกมาเมื่อมีพลังกายและใจมากพอจะเผชิญหน้ากับแรงต่อต้าน


อินสตาแกรมของโครงการ Almaari



โครงการ Almaarii เปิดรับเรื่องราวของกลุ่มคนที่ไม่อาจเปิดเผยตัวตน แต่อยากเล่าเรื่องราวของตัวเองให้คนภายนอกได้รับฟัง จุดประสงค์เพื่อให้มีเรื่องราวของคนกลุ่มนี้ออกไปสู่โลกภายนอก และเพื่อเป็นพื้นที่ให้กับคนที่ไม่อาจเปิดเผยตัวได้มีเพื่อนที่จะรับฟังความรู้สึกของตัวเองและในขณะเดียวกันก็ได้รับฟังคนที่มีประสบการณ์คล้ายๆกัน โดยกลุ่มเป้าหมายเป็นคนที่มาจากเอเชียใต้ โดยเฉพาะคนจากประเทศอินเดีย ซึ่งเป็นประเทศที่เต็มไปด้วยความขัดแย้งทางศาสนา เชื้อชาติ ชนชั้นและวรรณะ


โครงการเริ่มจากคำถามตั้งต้นที่ว่า หน้าตาของโลกที่คนเหล่านั้นใช้ชีวิตอยู่ภายในโลกของเขานั้นเป็นอย่างไร เป็นโลกที่ถูกที่เศร้าซึมหรือปราศจากแสงสว่างหรือไม่ ทำไมบางคนถึงเลือกที่จะอยู่ในตู้เสื้อผ้ามากกว่าจะออกมาข้างนอก หรือจริงๆแล้วมันคือโลกที่คนอื่นสร้างให้พวกเขาต้องอยู่ในนั้น และมีสิ่งใดบ้างที่พวกเขาเข้าถึงในโลกข้างในนั้น สิ่งของจริงๆที่อยู่ในชีวิต เช่น หนังสือ ดนตรี ภาพวาดสีรุ้ง แมกกาซีน โปสเตอร์ ฯลฯ


โดยตัวโครงการ จะนำเอาเรื่องเล่าของคนที่ไม่สามารถเปิดเผยตัวตนได้ มาตีความและทำงานร่วมกับนักวาดภาพประกอบ และเผยแพร่ทางแพลทฟอร์มอินสตาแกรมและเว็บไซต์ โดยเริ่มต้นมาตั้งแต่ปี 2018



Lived Once, Dreamed Twice


mapping an island is fun once you realize that you have nothing but time, fresh greens, animal solidarity,

and the slippery crystal sea. you can spend warm turquoise days wandering around the verdant croissant

cluster, answering to no one, a new nook each day, foraging for berries and mushrooms and stems, turning them into crisp, pulverized, macerated, fermented, honeyed orange lavender delights, making yours the strange twinkling trinkets left by those before you, who must have stayed in the same old white ruin whose architecture one cannot trace to any known civilization, as you find your way back to a sliver of clarity that tells you that you can't really pin down this teeming underbelly through any human theoretical model, anymore than you can permanently trace your dreams on the sand, surrounded by the scattered attempts of others left behind in hopes that someone somewhere might find them one day, and understand, if even a little, what they wanted to say, pulsating weird oddities of nature whose heartbeats couldn't contain themselves any longer, impulse carved into rotting diaries, defunct personal blogs, shell leached dyes, weathered sculptures, diseased film roll, decaying banjos, glitched-out CRT monitors, potion tinctures, the sea moistened loom.


like many, I am fond of the ocean. it does not carry shame, is not confounded by the mysterious and jagged, and will not falter in front of humans who recite to it awkward poetry, stirred by ancient melancholy, as their strained eyes settle on the horizon, and think, if even for a moment, well, this sure feels like a dream.


Written and Illustrated by Simar, 21

Queer, Ciswoman

Student

@gullychipkali




'There’s a church and laid in front of it is a Bible, surrounding which there are lots of Loreto nuns as well as people of Nepali origin, all very tall with me in the center, extra small, with my small rainbow heart, slowly growing and waiting to paint the town rainbow. The Kanchanjunga is in the background, unconquered and like the Buddha sleeping. .. because everyone knew I was gay even before I knew I was gay. LMAO. So my closet was really an open-air structure of unsaid traditions and my existence flouting them!


Prashansa,30

Bisexual, Ciswoman

Storyteller- Photographer and Filmaker

Illustrated by @sassyparantha .



The Facade


A spacious, turquoise coloured bourdoir with .

myriads of clothes, books and memorabilias. .

Only clothes aren't used to take cover. .

The behavioural patterns, the thinking processes, the looks one wish to carry which are subjected to prejudice and bigotry are also to be covered.

One has the onus of creating a giant outfit that hides you.


He sees this outfit hung in the middle of the bourdoir and when one wears this he is suddenly invisible, non-existent.

He goes about daily life wearing this attire of invisibility. The person inside screams, try to break away from the shackles of this clothing.


He invariably fails.


One day he burns the cloth with the cigarette--an act of vengeance. .

A burnt hole, and the light of soul illuminates from that tiny hole. .

The process of liberation was thus discovered. .

The cloth was lit on fire from the lighter. It burns, along with it burns the whole closet. .


The innermost person is liberated with the ashes of this burning closet. He is purified from the fire offering to the gods of queers.


Nischal, 24

Queer, cis male

Business Student

Illustrated by @ginghames


โครงการนี้นอกจากจะช่วยให้คนที่ยังอยู่ในการปกปิดตัวตน ได้มีพื้นที่ในการเล่าเรื่องของตัวเองแล้ว ยังทำให้คนภายนอกที่ได้อ่านเรื่องเล่าเหล่านี้ เข้าใจสภาวะของผู้ที่ไม่อาจเปิดเผยตัวตนได้มากขึ้น จากเรื่องเล่าทั้งหมดที่ผ่านมา จะเห็นได้ว่ามีความหลากหลายของเรื่องเล่า ทั้งอารมณ์ความรู้สึกของการต้องอยู่ในตู้ ในโลกที่ไม่มีใครรู้จักตัวตนจริงๆ บางคนอาจมีความสุข แต่บางคนอาจมีความอ้างว้างเดียวดาย แต่นั่นก็เป็นชีวิตของคนที่ทั้งเลือกและไม่ได้เลือกที่จะปกปิดตัวตน ซึ่งเราในฐานะผู้รับรู้เรื่องราว จะรับฟังและช่วยกันส่งเสียงต่อสังคมภายนอกที่ยังมองเห็นกลุ่มคนหลากหลายทางเพศเป็นความผิดปกติ และสร้างพื้นที่ปลอดภัยให้เพิ่มมากขึ้น เพื่อที่วันหนึ่งคนที่อยู่ข้างในอาจรู้สึกมีพลังมากพอที่จะออกมาข้างนอก เมื่อไหร่ก็ตามที่ต้องการ และในขณะเดียวกัน ก็จะต้องไม่ถูกตัดสินหรือกดดัน หากว่าพวกเขาไม่อยากออกมาเผชิญกับแรงเสียดทานภายนอกด้วยเช่นกัน


และนี่คือบางส่วนของเรื่องเล่าและภาพประกอบจากโครงการ หากสนใจเรื่องเล่าและภาพอื่นๆ สามารถเข้าไปดูได้ที่




ดู 87 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comentarios


bottom of page