top of page
รูปภาพนักเขียนFeminista

มารู้จักการเดินขบวนพาเหรดของกลุ่มความหลากหลายทางเพศกันเถอะ!




ในเดือนกุมภาพันธ์นี้ นอกจากจะเป็นเดือนแห่งความรักแล้ว

ยังเป็นเดือนที่ประเทศไทยจะมีงานไพรด์ของกลุ่ม #LGBTIQ ถึงสองงานด้วยกันนะคะ โดยในวันที่ 14-16 กุมภาพันธ์นี้ จะเป็นงาน

┏━━━━━━━━━━━━┓

Pattaya International Pride 2020 ที่จังหวัดชลบุรี

และวันที่ 22 กุมภาพันธ์ นี้ จะเป็นงาน

┏━━━━━━━━━━━━━━━━┓

Chiang Mai Pride 2020: เสาร์ซาวเอ็ดรำลึก ที่จังหวัดเชียงใหม่ค่ะ

.

.

ว่าแต่ งานที่คนเค้าเรียกกันในชื่อ #แอลจีบีทีไพรด์ (LGBT Pride) หรือ ไพรด์ มาร์ช (Pride March) หรือ เรนโบว์ ไพรด์ (Rainbow Pride) หรือ เกย์ไพรด์ (Gay Pride) หรือ เควียร์ ไพรด์ (Queer Pride)

มันคืออะไรกันแน่นะคะ และจัดขึ้นทำไม เริ่มต้นจากที่ไหน

เฟมินิสต้าชวนทำความเข้าใจกันในโพสต์นี้ค่ะ

.

.

งานที่เรียกกันในหลากหลายชื่อตามที่กล่าวไป จริงๆแล้วเกิดมาจาก

┏━━━━━━━━━━━━━━━━━━━━━━━┓

การต่อสู้เรียกร้องสิทธิของกลุ่มคนที่มีความหลากหลายทางเพศ

┗━━━━━━━━━━━━━━━━━━━━━━━┛


หรือเรียกสั้นๆว่ากลุ่ม LGBTIQ ตามที่ได้เขียนไว้ในโพสต์ที่แล้วนั่นเอง

ใครยังไม่ได้อ่าน ไปอ่านได้ที่ https://bit.ly/31Ux81W 😎

.

.

งานไพรด์ มีจุดเริ่มต้นมาจากการเรียกร้องสิทธิของกลุ่ม LGBTIQ ในอเมริกา หลังเกิดเหตุการณ์จราจลระหว่างกลุ่ม LGBTIQ กับตำรวจ ที่ #Stonewall inn ในปี ค.ศ. 1969 หรือที่เรียกกันว่า Stonewall Riot ซึ่งเหตุการณ์นี้ทำให้เกิดการรวมตัวประท้วงในเวลาต่อมา

.

.

จากนั้น ได้มีการจัดงานไพรด์เป็นครั้งแรกในอเมริกาเมื่อเดือนมิถุนายน ปี ค.ศ. 1970 และการเดินขบวนของกลุ่ม LGBTIQ ก็ขยายออกไปในทั่วทุกรัฐของอเมริกา รวมถึงประเทศอื่นๆเกือบทั่วโลก

.

.


เป้าหมายของการจัดงานก็เพื่อ

#เรียกร้องสิทธิของกลุ่ม LGBTIQ เช่น สิทธิในการแต่งงาน สิทธิของกลุ่มคนข้ามเพศ สิทธิในการจ้างงานและไม่เลือกปฏิบัติด้วยเหตุแห่งเพศ สิทธิในการมีบุตร เป็นต้น รวมไปถึงในบางประเทศ ก็เป็นการ

#เรียกร้องให้ยกเลิกกฎหมายลงโทษคนรักเพศเดียวกัน ด้วยค่ะ อย่างในประเทศอินเดีย

มีกฎหมายมาตรา 377 ที่ระบุให้การรักเพศเดียวกันเป็นความผิด และทุกๆครั้งของการเดินขบวน ก็จะมีการเรียกร้องให้ยกเลิกกฎหมายนี้ จนกระทั่งประสบความสำเร็จในปี 2018 ที่ผ่านมานี้เองค่ะ

.

.

นอกจากนี้ การเดินขบวนไพรด์ ยังเป็น

#การแสดงออกถึงความภาคภูมิใจ

#เพื่อยืนยันในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์

#เพื่อส่งเสียงต่อสังคมเพื่อให้เกิดการยอมรับในตัวตนและการมีอยู่ของกลุ่มคนหลากหลายทางเพศ ด้วยค่ะ

.

.

หัวใจของการเดินขบวนของกลุ่ม LGBTIQ จึงไม่ใช่แค่การออกมาร้องรำทำเพลง แต่งตัวสวยงาม เดินถือธงสีรุ้งด้วยความสนุกสนานบันเทิงอย่างที่เราเห็นในสื่อเท่านั้น แต่แท้จริงแล้ว เป็นการ #พยายามส่งเสียงเพื่อเรียกร้องไปยังสังคมและรัฐ ให้มองเห็นและยอมรับในตัวตน และให้มี #นโยบายที่ปกป้องคุ้มครองส่งเสริมสิทธิของกลุ่ม LGBTIQ เพื่อให้เกิดความเท่าเทียมทางเพศอย่างแท้จริงค่ะ

.

.

สำหรับใครที่อยากไปร่วมงาน แม้ไม่ใช่คนที่มีความหลากหลายทางเพศ ก็สามารถเข้าร่วมเป็นผู้สนับสนุนได้นะคะ แอดมินเคยไปร่วมงานไพรด์มาแล้วหลายประเทศ แต่ละประเทศก็ได้ความรู้ ความสนุกสนาน แตกต่างกันไปค่ะ โดยสำหรับในประเทศไทยครั้งนี้ สามารถติดตามรายละเอียดของแต่ละงานได้ที่นี่ค่ะ

.

.

#งานไพรด์ที่พัทยา ----> https://bit.ly/2UQ4VYh

#งานไพรด์ที่เชียงใหม่ ----->https://bit.ly/2OQID4Q

.

.




ดู 128 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Commentaires


bottom of page