top of page

Feminista Talk EP3: อดทนเพราะรัก?




สถานการณ์ความรุนแรงในครอบครัว บริบท ปัญหา การเข้าถึงความช่วยเหลือ


จากกรณีที่ผ่านมาในช่วงไม่กี่วันนี้ จะเห็นว่าประเด็นเรื่องความรุนแรงทางเพศ มีสถานการณ์ที่รุนแรงมากขึ้น โดยเฉพาะในช่วงโควิด 19 ที่เป็นปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจ การไม่สามารถออกไปนอกบ้านได้ ก็ส่งผลให้เกิดความรุนแรงในครอบครัวมากขึ้น ปัญหานึงที่เป็นผลกระทบที่ได้รับจากความรุนแรงในครอบครัว คือเรื่องของสภาพจิตใจ ภาวะซึมเศร้า ทรอม่า กลัวการสร้างความสัมพันธ์ ที่ตามมาหลังจากนั้น นอกจากนี้คนที่เจอปัญหา Domestic Violence ก็อาจจะลงเอยด้วยการสูญเสียหรือกลายเป็นผู้กระทำความผิด ทำให้มีคำถามหลายๆคำถามเกิดขึ้นจากสังคมว่า ทำไมผู้หญิงจำนวนมากถึงยังอยู่กับคนที่ทำร้ายตัวเอง


คำถาม : ทำไมผู้หญิงจำนวนมาถึงอดทนอยู่กับสามีที่ทำร้ายตัวเอง


เวลามีข่าวเรื่องความรุนแรงในครอบครัวออกมา มักจะมีมีความเห็นหลายๆความเห็นตั้งคำถามว่า ทำไมผู้หญิงจึงยอมโดนทำร้าย ทำไมไม่เดินออกมา อดทนเพื่ออะไร ทำไมยังรักคนที่ทำร้ายร่างกาย ผู้หญิงสมัยนี้ก็สามารถทำงานอยู่ได้ด้วยตัวเองแล้ว



คำตอบ: เพราะมีปัจจัยหลายๆด้านที่ทำให้ผู้หญิงเดินออกมาจากความรุนแรงในทันทีไม่ได้ เช่น


  • ภาวะการพึ่งพิง ผู้หญิงจำนวนมากไม่ได้ทำงานมีเงินเป็นของตัวเอง ปกติจะพึ่งพารายได้ของสามี ทำให้ไม่มีเงินเก็บพอที่จะออกไปตั้งตัวได้ การจะออกจากความรุนแรงจึงเป็นเรื่องของปัจจัยทางการเงินด้วย

  • ความเชื่อแบบชายเป็นใหญ่ ที่ถูกส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่น ผู้หญิงจำนวนมากถูกหล่อหลอมมาให้ต้องเป็นแม่และเมียที่ดี ไฟในอย่านำออกไฟนอกอย่านำเข้า ทำให้หลายคนยอมอดทนเพื่อทำหน้าที่เมียและแม่ต่อไป เพราะถ้าขอความช่วยเหลือหรือหนีออกมา จะถูกมองว่าเป็นผู้หญิงไม่ดี

  • ความเชื่อว่าเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมได้ คือถ้าทำดีต่อคู่สัมพันธ์ จะสามารถเปลี่ยนแปลงนิสัยหรือทำให้เลิกตบตีได้

  • ความกลัวว่าลูกจะมีปัญหา ถ้าพ่อแม่เลิกกัน เชื่อว่าอดทนอยู่เพื่อลูก ให้ลูกเรียนจบก่อน ดูแลตัวเองได้ก่อน

  • ความกลัวว่าจะถูกตามไปทำร้าย ถ้าอีกฝ่ายมีอำนาจ มีอาวุธ ผู้หญิงก็จะยิ่งกลัวที่จะออกจากความสัมพันธ์ เพราะในหลายๆเคสผู้หญิงถูกขู่ฆ่า และมีหลายเคสที่ผู้หญิงถูกฆ่าจริงๆ และเจ้าหน้าที่ก็ให้ความคุ้มครองไม่ได้

  • สังคมที่อยู่แวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นพ่อแม่ ญาติ ชุมชน ที่มักจะเกลี้ยกล่อมให้กลับไปอยู่กับสามีที่ใช้ความรุนแรง รวมถึงเจ้าหน้าที่รัฐในกระบวนการยุติธรรม นักสังคมสงเคราะห์ต่างๆที่ไม่ตระหนักถึงอันตราย ผู้นำศาสนาที่มีบทบาทในชุมชนที่พยายามไกล่เกลี่ย

  • ระบบช่วยเหลือ สนับสนุน ที่ไม่ทำงานหรือใช้ไม่ได้จริง เช่น ศูนย์ร้องเรียน ช่วยเหลือต่างๆไม่ทำงาน ไม่มีการติดตามหรือไม่มีบุคลากรเพียงพอ ทำให้ผู้หญิงที่ร้องขอความช่วยเหลือไม่สามารถเข้าถึงการช่วยเหลือได้ และทำได้แค่อดทนอยู่ต่อไปเรื่อยๆ

  • สภาพจิตใจ เนื่องจากหลายคนถูกทำร้ายมายาวนาน ทำให้หมดความเชื่อมั่นในศักยภาพของตัวเอง รู้สึกว่าตัวเองไม่มีคุณค่า อยู่ไม่ได้ถ้าไม่พึ่งพิงสามี การจะลุกออกมาจากความสัมพันธ์ที่เลวร้าย แล้วต้องแบกรับปัญหาลำพังหรือเริ่มต้นชีวิตใหม่ จึงเป็นเรื่องที่ต้องมีการทำงานจากคนที่มีความเชี่ยวชาญในการให้คำปรึกษาเพื่อเสริfeminista-talk-ep3-อดทนเพราะร-กมพลังและมีการช่วยเหลืออย่างเป็นระบบ





ดู 89 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Commentaires

Les commentaires n'ont pas pu être chargés.
Il semble qu'un problème technique est survenu. Veuillez essayer de vous reconnecter ou d'actualiser la page.
bottom of page